019 – หูกวาง

This slideshow requires JavaScript.

One response to this post.

  1. หูกวาง
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa L.
    วงศ์ : COMBRETACEAE
    ชื่อสามัญ : Tropical Almond , Olive – bark Tree
    ชื่ออื่น ดัดมือ โคน
    ไม้ต้น : ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 15 – 20 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลม
    เปลือก : สีเทาเรียบ แตกกิ่งตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ
    ใบ : ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 8 – 15 เซนติเมตร ยาว 12 – 25 เซนติเมตร ปลายใบเป็น ติ่งแหลมอ่อน โคนใบสอบแคบ เว้า และมีต่อม 1 คู่ แผ่นใบหนา มีขนนุ่ม ขอบใบเรียบ
    ดอก : ดอกเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อ ตามง่ามใบบริเวณปลายกิ่ง
    ผล : รูปไข่หรือรีป้อมและแบนเล็กน้อย กว้าง 2 – 5 เซนติเมตร ยาว 3 – 7 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อแก่จะแห้งเป็นสีดำคล้ำ
    นิเวศวิทยา : ขึ้นตามหาดทราย หาดหิน และขึ้นได้ทั่วไป
    ออกดอก : กุมภาพันธ์ – เมษายน และ สิงหาคม – ตุลาคม
    ขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด
    ประโยชน์ : เปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ ให้น้ำมัน คล้ายน้ำมันอัลมอนด์

    ตอบกลับ

ส่งความเห็นที่ น.ส. สุภาวดี จันทร์คำมี ยกเลิกการตอบ